คืบหน้า รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ – นครราชสีมา
เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติอนุมัติโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ภายใต้กรอบวงเงิน 179,412 ล้านบาท
Fuxing Hao CR300AF รถไฟความเร็วสูงจากจีน สายกรุงเทพ-หนองคาย
ความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม.
มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2569 โดยประกอบด้วย 15 สัญญา (งานโยธา 14 สัญญา และงานระบบ 1 สัญญา) ขณะนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนาม 3 สัญญา
สัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร ลงนามสัญญา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานตามสัญญา มีระยะเวลาในการดำเนินงานจำนวน 64 เดือน
โครงการนี้ยังมีปัญหาอุปสรรคที่ต้องดำเนินการ 5 ประเด็น ได้แก่
1. การเวนคืน ที่ส่งผลกระทบกับสัญญา ล่าสุดราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2565 เป็นต้นไป
2. การขอพื้นที่จากส่วนราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับผลกระทบ 7 สัญญา ขณะนี้อยู่ะหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. สถานีอยุธยา ที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้พิจารณาย้ายสถานี ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรม (HIA) แล้ว โดยเริ่มงานเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565 มีระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 24 เม.ย. 2566
4. โครงสร้างร่วมระหว่างโครงการฯ กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จและเริ่มก่อสร้างได้ ภายในต้นปี 2566 และ
5. สถานการณ์โควิดที่กระทบงานระบบ ทำให้งานออกแบบระบบทั้งหมด และขบวนรถไฟงานก่อสร้างและติดตั้ง รวมถึงงานฝึกอบรมบุคลากรและงานถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องหยุดชะงัก ล่าสุด ร.ฟ.ท.และคู่สัญญา อยู่ระหว่างตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะเดินหน้างานระบบได้ภายในต้นปี 2566
ขณะที่โครงการฯ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทางรวม 357 กม. ได้ออกแบบงานโยธาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ส่วนการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีน ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้มีการประสานความร่วมมือในรายละเอียดกับทาง สปป.ลาวโดยต่อเนื่อง เท่ากับว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของ EEC จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สร้างระบบโลจิสติกส์ ไทย-ลาว-จีน ให้เป็นหนึ่งเดียว
คืบหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช แล้วเสร็จใน 3 ปี รถรุ่น Fuxing Hao (ฟู่ซิงห้าว)
ขอบคุณที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
จีนพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี ทักษะและองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง 11 ด้านให้ไทย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการสร้างรางรถไฟ แนวทางปฏิบัติในการวางรางในภูมิประเทศต่าง ๆ การออกแบบสถานีรถไฟเพื่อให้ผู้โดยสารสัญจรไปมาได้ดีขึ้น การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ด้วยความเร็วที่เร็วขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง การออกแบบและสร้างอุโมงค์ที่ปลอดภัย รวมถึงการอบรมการบริหารรถไฟความเร็วสูง การซ่อมบำรุง และการขับรถไฟ เป็นต้น
คาดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะนำขบวนรถรุ่น Fuxing Hao (ฟู่ซิงห้าว) CR300AF มาใช้วิ่งให้บริการ
รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา นี้จะใช้ ขบวนรถไฟ Series Fuxing Hao รุ่น CR300 จากจีนโดยมีทั้งหมด 8 ตู้ด้วยกันค่ะ และแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
- รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
- โดยเป็นรถไฟความเร็วสูง (ตามมาตรฐาน UIC) ซึ่งมีความเร็วให้บริการสูงสุดที่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- การเดินทางจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ไปยัง สถานีปลายทางนครราชสีมา ใช้เวลาเพียง 90 นาที หรือ 1.30 ชม.
นอกจากนี้ใครขบวนรถไฟ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับผู้โดยสารทั้ง ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่เก็บกระเป๋า และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสารอีกด้วยค่ะ
รถไฟสายนี้จะเชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเสร็จในปี 2572
ตารางเวลารถไฟความเร็วสูง
- เวลาเดินรถของรถไฟความเร็วสูง ให้บริการเวลา 06.00-22.00 น.
- ขบวนรถไฟจะออกทุกๆ 90 นาที
- ระยะเวลาเดินทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชั่วโมง
- เปิดให้บริการได้ในปี – ล่าช้ากว่าแผนงาน
ค่าโดยสาร รถไฟความเร็วสูง
- กรุงเทพฯ – นครราชสีมา 535 บาท
- กรุงเทพฯ – ปากช่อง 393 บาท
- กรุงเทพฯ – สระบุรี 278 บาท
- กรุงเทพฯ – อยุธยา 195 บาท
- กรุงเทพฯ – ดอนเมือง 105 บาท
อัตราค่าโดยสารสำหรับผู้สูงอายุ และนักเรียน เป็นไปตามนโยบายของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำ Clip ความคืบหน้าแผนงานการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน (ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา) มา Update ให้ทราบ
ล่าสุด!! มีนาคม 65 กับรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา
โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีปลายทางนครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร
แบ่งการก่อสร้างเป็น 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
วันนี้พามาชมช่วงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7 สัญญา ได้แก่
-ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร
-งานอุโมงค์ (มวกเหล็ก-ลำตะคอง) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร
-ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.1 กิโลเมตร
-ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และ ช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร
-ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร
-ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กิโลเมตร
-และ ช่วงสระบุรี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร / จบ.
ความคืบหน้า ณ 31 ธ.ค. 2564
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นโครงการที่ทางฝั่งประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุนงานโยธาทั้งหมดด้วยวิธีการเปิดประมูลเป็นรายสัญญาแบบเดียวกับการก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร โดยในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล ทางฝั่งจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยการว่าจ้าง บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด ผู้ผลิตรถไฟฟ้าบีทีเอสรุ่นที่สอง (EMU-B: Bombardier Movia) เป็นผู้ผลิตตัวรถไฟฟ้าและจัดหาระบบเดินรถไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในโครงการทั้งหมด
สัญญาที่ | เนื้องาน | มูลค่า (ล้านบาท) | ผู้ชนะการประมูล | ความคืบหน้า(ณ สิ้นเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564)[2] |
---|---|---|---|---|
1-1 | งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงกลางดง – ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. (2.17 ไมล์) | 425 | กรมทางหลวง | ก่อสร้างเสร็จแล้ว |
2-1 | งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. (6.84 ไมล์) | 3,115 | บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง | 79.28% |
3-1 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงแก่งคอย – กลางดง และปางอโศก – บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. (18.77 ไมล์) | 9,330 | ITD-CREC No.10JV (ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตร ซีอาร์อีซี (CREC: China railway Engineering corporation) | อยู่ระหว่างดำเนินการตามมติคณะกรรมการอุทธรณ์ |
3-2 | งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดภูเขา ช่วงมวกเหล็ก – ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. (7.6 ไมล์) | 4,729.3 | บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ | 0.29% |
3-3 | งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. (16.22 ไมล์) รวมงานก่อสร้างสถานีปากช่อง | 9,838 | บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง | 1.48% |
3-4 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงลำตะคอง – สีคิ้ว และกุดจิก – โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. (23.27 ไมล์) | 9,788 | บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ | 14.38% |
3-5 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. (8.51 ไมล์) รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา | 7,750 | กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัทบิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย) | 2.01% |
4-1 | งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ (กม.11) – ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กม. (7.35 ไมล์) รวมงานปรับปรุงและเชื่อมต่อสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง | รวมงานโยธาให้ผู้ชนะการประมูลสายเชื่อม 3 สนามบิน (บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)) เป็นผู้ดำเนินการ | ||
4-2 | งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงดอนเมือง – นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. (13.55 ไมล์) | 10,570 | บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น | อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง |
4-3 | งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงนวนคร – บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. (14.29 ไมล์) | 11,525 | กิจการร่วมค้าซีเอส – เอ็นดับบลิวอาร์ – เอเอส (บจ. ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชัน, บมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ, บจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1994)) | 0.36% |
4-4 | งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย | 6,514.4 | บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ | อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง |
4-5 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. (8.26 ไมล์) รวมงานก่อสร้างสถานีอยุธยา | 9,913 | บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ | รอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้พิจารณาทำ ประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม(Heritage Impact Assessment : HIA) |
4-6 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงพระแก้ว – สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. (19.64 ไมล์) | 9,429 | บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น | อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง |
4-7 | งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. (8.07 ไมล์) รวมงานก่อสร้างสถานีสระบุรี และปรับปรุงสถานีรถไฟแก่งคอย | 8,560 | บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง | 9% |
ฟู่ซิงห้าว
ฟู่ซิง (Fuxing) หรือชื่อเต็มคือ ฟู่ซิงห้าว (จีน: 复兴号) หรือ CR400 ซีรีส์ เป็นรุ่นรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟจีน สร้างขึ้นโดยบริษัท CRRC ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือสิทธิบัตรทางปัญญา รถไฟความเร็วสูงฟู่ซิงเริ่มพัฒนาในปีค.ศ. 2012 และออกแบบแล้วเสร็จในปีค.ศ. 2014 ฟู่ซิงขบวนแรกสร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 มีชื่อเล่นในรุ่น CR400AF ว่า โลมาแดง/โลมาน้ำเงิน และมีชื่อเล่นในรุ่น CR400BF ว่า หงส์ทอง
ประจำการ | 15 สิงหาคม ค.ศ. 2016 – ปัจจุบัน |
---|---|
ผู้ผลิต | CRRC Qingdao Sifang Changchun Railway Vehicles CRRC Tangshan Railway Vehicle |
จัดขบวน | CR400AF/BF: 8 ตู้/ขบวน (4M4T)[1] CR400AF–A/BF–A: 16 ตู้/ขบวน (8M8T) |
ความจุ | CR400AF/BF: 556 or 576 CR400AF–A/BF–A: 1193 |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศจีน |
สายที่ให้บริการ | ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง-กว่างโจว-เชินเจิ้น–ฮ่องกง ปักกิ่ง–เทียนจิน ซูโจว-หลานโจว เซี่ยงไฮ้-คุนหมิง กว่างโจว-ชูไห่ กุ้ยหยาง-กว่างโจว จี่หนาน-ชิงเต่า (และที่จะตามมา) |
คุณลักษณะ | |
ความยาวขบวน | CR400AF: 209 m (685 ft 8 in)[1] CR400AF–A: 414 m (1,358 ft 3 in) CR400BF: 209.06 m (685 ft 11 in) CR400BF–A: 414.26 m (1,359 ft 1 in) |
ความกว้าง | 3,360 mm (11 ft 0 in)[1] |
ความสูง | 4,050 mm (13 ft 3 in)[1] |
ความสูงชานชาลา | 1,250 mm (4 ft 1.2 in) |
ความเร็วสูงสุด | 350 km/h (217 mph) (ให้บริการจริง) 400 km/h (249 mph) (ที่ออกแบบไว้) 420 km/h (261 mph) (ทดสอบ)[2][3] |
แหล่งจ่ายไฟ | ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว |
ระบบจ่ายไฟฟ้า | 25 kV 50 Hz |
ที่มา : https://th.wikipedia.org/